วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

การแก้ปัญหาของ VM80 ด้วยตัวท่านเอง

ในช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรงมาก แกว่งตัวไปมาอย่างรวดเร็ว ประกอบกับอยู่ในช่วงหน้าฝน 
จึงทำให้มีฝนตกฟ้าคะนอง-ฟ้าผ่า ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆในบ้านนกของท่านได้  ตัวผมเองได้รับทราบจากหลายๆท่านได้ประสบโดนฟ้าผ่า ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเสียหาย

โดยเฉพาะทางจันทบุรี ตราด ซึ่งบ้านนนกของคุณ ธรรมพร เกิดโดนฟ้าฝ่าได้รับความเสียหาย ผมจึงได้นำวิธีการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น ซึ่งสามารถซ่อมแซมเองได้ โดยใช้อุปกรณ์พื้นฐานตามที่มีในร้านอิเลคโทรนิคทั่วไป 

อาการที่คุณธรรมพรแจ้งมาก็คือ ไฟ LED ที่ใช้แสดงผลอุณหภูมิความชื้นที่จอหน้าปัด ไม่แสดงค่า หากว่าตัว PCB ไม่เสียหาย ก็ซ่อมแซมจะกระทำได้ง่ายมาก ซึ่งผมพอสรุปอาการที่เป็นปัญหาได้ 2 ประเด็นก็คือ ฟิวส์ในบอร์ดขาด หรือ คาปิซิเตอร์แสดงผลสัทธ์ได้รับความเสียหาย  ดังนั้นแนวทางในการแก้ไข สามารถทำได้ดังนี้คือ

1.-ตัว Fuse ในบอร์ดขาด
2.-ตัว Capacitor 103 อาจจะเสียหาย

ซึ่ง VM80 นี้ถูกออกแบบมาให้สามารถซ่อมแซมเบื้องต้นเองได้ตามร้าน Electronic ทั่วไปครับ ให้ดูรูปการซ่อมแซมในเบื้องต้น ตามรูปประกอบทั้ง 3 รูปด้านล่างนี้นะครับ

รูป 2 รูปแรก นี้เป็นรูปที่แสดงขั้นตอนในการแกะหน้าปัดเอาบอร์ดออกจาก Case





เมื่อแกะหน้าปัดเครื่อง VM80 ออกมาได้แล้ว ก็ให้ดูบริเวณด้านหลังเครื่อง เราจะเป็นตามรูปด้านล่าง ซึ่งชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ เหมือนในรูป การแก้ใขก็ให้ทำตามขั้นตอนด้านล่าง   - ดูรูปประกอบ -


1.-ตัว Fuse ในบอร์ดขาด สามารถแก้ไขได้โดยการเปลี่ยน ฟิวส์หมายเลข GR265 040 หรือ ฟิวส์ที่สามารถทนกระแสได้ 10A เข้าไปใหม่ 
กรณีที่ Fuse ในบอร์ดไม่เสียหาย ก็จะเป็นที่ตัว Capacitor เบอร์ 103 อาจจะได้รับความเสียหายจากการใช้งาน

2.-ในกรณี Capacitor 103 เสียหาย  ซึ่งการซ่อมแซมจะสามารถทำได้ 2 กรณี คือ
              2.1 - ตัดขา Capacitor ตัวนี้ทิ้งไปเลยทั้ง 2 ขา
              2.2 - หรือเปลี่ยน Capacitor เบอร์ 103 ตัวใหม่แทนที่ของเก่า

เมื่อแก้ไขเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆเสร็จแล้วก็สามารถนำ Board ใส่กลับเข้าไปใน Case ให้แน่นสนิทเหมือนเดิมแเล้วก็สามารถนำไปใช้งานต่อได้ทันที เป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกมากๆๆ ส่วนโปรแกรมหรือค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่เคยตั้งไว้ยังคงใช้ได้เหมือนปกติ  (ของเค้าดีจริงๆ ต้องขอชมโรงงานต่างประเทศที่ผลิต)

หากว่าท่านเคยใช้เครื่องบัดกรี การเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำได้เองไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องไปจ้างช่างให้ซ่อมเครื่องให้เสียเงินเสียสตางค์  ซึ่งอาจจะซ่อมไม่ถูกจุด หรือโกงค่าซ่อมแพงๆ ผมจึงได้นำวิธีแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นให้กับผู้ที่ใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิ-ความชื้น VM80 เพื่อจะสามารถใช้งานเครื่องได้อย่างทันท่วงทีเพื่อให้สามารถควมคุมอุณหูมิ-ความชื้นไม่ให้แกว่งไปมาอย่างไร้การควบคุม เพราะสืบเนื่องจากการที่จะต้องส่งเครื่องมาซ่อม หรือ เสียเวลาไปกับการหาช่างซ่อม เพราะบางครั้งกว่าจะหาสาเหตุเจอก็เสียเวลาไปมาก  หรืออาจจะซ่อมไม่ถูกจุดผิดพลาดไปกันใหญ่  เสียทั้งเวลาและเสียโอกาสที่จะควบคุมอุณหภูมิ-ความชื้นไปนั้นเอง

                                                                                               Vuthmail-Thailand 
                                                                                                       29.09.54

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

รูปการติดตั้ง VM80 เพียง 1 ตัวเพื่อควบคมุอุณหูมิ-ความชื้นกับหลายๆชั้น

ผมป่วยเป็นไข้หวัดไม่สบายอยู่ประมาณ 2 อาทิตย์ ไม่ค่อยได้เข้ามาดูเท่าไหร่  รู้สึกว่าไม่อยากจะทำอะไรเลย เหนื่อยๆ เพลียๆ วันนี้ดีขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังไม่หายสนิท มีอาการปวด มึนศรีษะอยู่บ้างพอประมาณ เหมื่อยตามตัว รู้สึกไม่อยากจะทำอะไรเท่าไหร่

วันนี้เข้ามาเห็นเรื่องของ VM80 ที่สอบถามมา เอาเป็นว่าผมนำรูปที่ผมเคยส่งให้คุณวิกรมมาลงใน Blog ให้ดูก็แล้วกัน สำหรับคนที่ต้องการใช้ VM80 1 ตัว เพื่อการควบคุมหลายๆชั้น ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างไร ทำได้เช่นกัน แต่ใจจริงแล้วอยากให้ใช้แยกชั้นไปเลยดีกว่า เพื่อประสิทธิที่สูงสุด และให้ความถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในการควบคุมทั้งอุณหภูมิ ความชื้นของแต่ละชั้นจะแตกต่างกันอยู่บ้าง ไม่เหมือนกัน




ซึ่งการใช้แยกชั้น หรือ รวมอยู่ในแต่ละชั้น หลักการสำคัญอยู่ที่ว่าจะต้องนำเอาสายไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้ามาเสียบที่ข้างกล่องของ VM80 เมื่อช่องสั่งการ AL1 หรือ AL2 ทำงาน ก็จะมีการจ่ายไฟฟ้าไปที่ปล๊ก ด้านข้างกล่อง  และไฟฟ้าก็จะวิ่งไปตามสายไฟที่นำมาเสียบไว้ที่ข้างกล่อง

หากว่านำสายจากชั้น 4-5 มาเสียบที่ปลั๊กข้างกล่อง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ที่ขั้น 4-5 ก็จะได้รับไฟฟ้า และทำงาน  จากรูปหากว่าเรานำเอาอุปกรณ์จากชั้น 3 4 5  มาเสียบที่ปลั๊กข้างกล่อง Blade ที่อยู่ในชั้น 3 4 5 ก็จะทำงานพร้อมๆกัน คิดว่าคงได้เป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้นะครับ

                                                                              Vuthmail - Thailand
                                                                                       01.08.54

ทดสอบ VM80 ต่อขยายความยาว Sensor ยาว 200 เมตรด้วยสาย LAN

ตามที่ได้สัญญาไว้นะครับ ว่าจะทำการทดสอบการต่อขยายความยาวสาย Sensor ของ VM80-HT โดยการใช้สาย LAN ยาว 200 เมตรซึ่งเป็นเรื่องน่าหนักใจสำหรับเครื่อง Hygrometer ที่วัดความชื้นหลายต่อหลายรุ่นของหลายยี่ห้อ -- วันนี้ฤกษ์งามที่ดี -- คุณธรรมพร ตราด สั่ง VM80 ที่ต้องใช้ความยาวสายถึง 80 เมตร ซึ่งเป็นสายที่ยาวมากไม่ใช่น้อย ซึ่งหลายๆท่านที่จำเป็นต้องใช้สาย Sensor ยาวมากๆจะเป็นกังวลเรื่องของความถูกต้อง ค่าความเพี้ยน อย่างแน่นอน ซึ่งโดยส่วนตัวผมเองแล้วไม่เป็นกังวลในเรื่องเหล่านี้เลย เพราะว่าได้ต่อความยาวระดับ 30 เมตรได้โดยแทบจะไม่ต้อง Calibrate ค่าที่วัดได้ หรือต้อง Calibrater ก็ทำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นที่ระดับความยาวที่ 80 เมตรจึงไม่ใช่ปัญหาอย่างแน่นอน ผมจึงจะไม่รู้สึกเป็นกังวลแต่อย่างใดเลย

แต่เนื่องจากว่าเคยรับปากว่าจะทำการทดสอบการต่อขยายที่ระดับ 200 เมตร ซึ่งหากว่าเป็นเครื่องรุ่นอื่นๆ ยี่ห้ออื่นๆนั้นเท่าที่ผมได้ทราบมาจะทำได้แค่เพียง 100 เมตรเท่านั้น แต่ในส่วนตัวผมจะทำการทดสอบ VM80 ที่ความยาวมากถึง 200 เมตรเลย เพื่อเกิดความ Sure จึงทดสอบกันอย่างหนักหน่วง ใช้สายยาวกว่ายี่ห้ออื่นเป็นเท่าตัวเลย เพื่อดูผลจะออกมาเป็นอย่างไร ค่าอุณหภูมิและความชื้นที่วัดได้จะเป็นอย่างไรบ้าง หรือจะมีข้อจำกัดอะไรอย่างไรหรือไม่ เรามาดู Clip ที่ถ่ายไว้กันดีกว่านะครับว่า ผลจะออกมาเป็นอย่างไรบ้าง




หากว่าภาพไม่ขึ้น กรุณา Link ไปที่ http://www.youtube.com/watch?v=Un3HEC-TXkk

จากการทดสอบจริง ค่าที่อ่านได้มีความถูกต้องทั้ง อุณหภูมิและความชื้น โดยเฉพาะค่าความชื้น Calibrate ค่าไม่ถึง 4 Rh% เท่านั้นครับ (จากการทดสอบ Calibrate ค่าเพีย 3.8 Rh% แต่ให้ไว้กว้างขึ้นอีกเล็กน้อยเป็นที่ 4 Rh% ซึ่ง Hygrostat รุ่น VM80 นี้สามารถรองรับการ Calibrate ความชื้นได้มากถึง 50 Rh% ซึ่งหากคำนวนย้อนกลับเพื่อจะหาความยาวสูงสุดของสาย LAN ที่จะต้อง calibrate ค่าแบบเต็มความสามารถคือ 50 Rh% ก็คำนวณได้ว่าสามารถใช้สาย LAN ได้ยาวถึง 2,500 เมตรเลย สูตร ((200/4)*50) ดังนั้นเมื่อเทียบค่าความชื้นที่ Calibrate กับความยาวถึง 2,500 เมตรแล้วถือเป็นสัดส่วนที่ต่ำมากๆๆ-เมื่อเทียบกับความยาวขนาดนี้ ซึ่งเป็นที่รู้วกันว่าในวงการบ้านนกนั้นจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความชื้นมากพอสมควรเนื่องจาก ความชื้นจะทำให้รังไม่หลุดล่วง ไม่แตกหักง่าย ช่วยให้การเก็บรังทำได้สะดวก ดังนั้น Hygrostat ที่ดีจะต้องวัดค่าความชื้นได้อย่างถูกต้อง และเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก

ดังนั้นสำหรับเพื่อนๆที่จำเป็นต้องใช้ Hygrostat ที่ต้องใช้ความยาวสายมากๆ จึงไม่ควรมองข้ามเรื่องความเพี้ยนของทั้งอุณหภูมิและความชื้น ซึ่งเรื่องนี้ผมได้ทดสอบตามที่ได้สัญญาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเป็นที่เบาใจ สบายใจได้กับผลรับที่ได้ สำหรับคนที่ต้องใช้สาย LAN ยาวมาก เมื่อทดสอบที่ความยาว 200 เมตร ความชื้นยังสามารถให้ค่าถูกต้องมากขนาดนี้ หากว่าใช้ความยาวสาย LAN สั้นๆเพียง 15-20 เมตร ค่าความถูกต้องจึงไม่จำเป็นที่จะต้องพูดถึงกันเลย ส่วนค่าของอุณหภูมิ ก็ต้อง Calibrate เช่นกันครับ แต่ค่าที่วัดได้ก็ยังถูกต้องเชื่อถือได้ ตามที่เราได้เห็นกันใน Clip แล้วนะครับ

อีกประการหนึ่ง VM80 ตัวนี้จะแสดงข้อมูล อุณหภูมิ ความชื้น ที่จอ LED แบบ Realtime เลยนะครับ (ประมาณ 8 ครั้งต่อ 1 วินาที ใช่ครับอ่านไม่ผิด 8 ครั้งต่อวินาที) ไม่เหมือนกับบางรุ่นที่ดูว่าค่าอุณหภูมิ ความชื้น ที่วัดได้นั้น นิ่งดี แต่ที่จริงแล้ว เป็นเพราะโปรแกรมการสั่งการให้ไปอ่านค่าที่หัว Probe ตามเวลาที่ตั้งไว้ เช่นกำหนดเวลาไว้ 1นาที หรือ3 นาทีจึงให้ไปอ่านค่าเสียครั้งหนึ่ง ค่าที่ปรากฎบนหน้าจอจึงทำให้ดูเสมือนว่าค่าที่วัดได้นั้นดูนิ่ง ดูเสถียรดี แต่ในข้อเท็จจริงๆแล้วเป็นอย่างที่ผมได้กล่าวไว้แล้วในเบื่องต้น อีกประเด็นหนึ่งก็คือว่าหัว sensor มีการตอบสนองต่ออุณหภูมิ ความชื้นช้าเป็นเต่า ก็จะทำให้ดูเหมือนว่าอุณหภูมิความชื้นที่วัดได้นั้นนิ่งดี ท่านจะคิดอย่างไรกับ Hygrostat ทั้ง 2 กรณีที่ได้กล่าวมาแล้ว ค่าความเสถียรที่เห็นบนหน้าจอ อาจจะไม่ใช่อย่างที่ท่านเคยคิดไว้ ทดลองตรวจสอบกันให้ดีว่าค่าอุณหภูมิความชื้น ที่ว่านิ่งๆนั้นเป็นเพราะอะไรด้วยก่อนที่จะเลือก Hygrostat ดีๆมาใช้สักตัวนะครับ

                                                                                                     Vuthmail-Thailand
                                                                                                            22.06.54

VM80 ติดเขี้ยวเล็บเพิ่มเติม สำหรับหน้าร้อนปี 54 นี้

สินค้า Lot ใหม่ที่มาถึงนี้ ผมได้ติดเขี้ยวเล็บให้กับ VM80 อุปกรณ์ตัวนี้เพิ่ม โดยการขอให้ทางโรงงานที่ผลิต ช่วยเขียนโปรแกรมการหน่วงเวลามาให้เพิ่มเติม  จึงทำให้ VM80 เครื่องควบคุมอุณหภูมิความชื้นตัวเล็กแต่ประสิทธิภาพใหญ๋เกินตัวรุ่นนี้ ก้าวข้ามขึ้นมาเทียบรุ่นกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิความชื้นรุ่นใหญ่ที่มีราคาแพงได้ทุกรุ่น เพราะการเพิ่มโปรแกรมหน่วงเวลาทำงานของช่องสั่งการ AL1 AL2 นี้ จะมีเฉพาะในตัว VM80 แต่ว่าราคาเท่าเดิมครับ เพื่อให้เป็นการประหยัด คุ้มค่าเงินของผู้ที่กำลังจะตัดสินใจมาใช้ VM80 เท่านั้น  ซึ่งรุ่นที่เพิ่มเติมโปรแกรมหน่วงเวลารุ่นนี้มีจำนวนที่สั่งเข้ามาไม่มากนัก หากว่าคนที่กำลังจะตัดสินใจซื้อเครื่องควบคุมอุณหภูมิ-ความชื้นที่จะนำไปเพื่อใช้ควบคุมสภาพอากาศในบ้านนก และช่วงนี้ได้เริ่มก้าวเข้าฤดูร้อนแล้ว อย่าได้นิ่งนอนใจ

โปรแกรมการหน่วงเวลานี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายขึ้นกว่าเดิม มีความยืดหยุ่นสูง โดยมีหลักการทำงานดังต่อไปนี้คือ เมื่ออุณหภูมิหรือความชื้นถึงจุดที่ช่องสั่งการ AL1 AL2 จะทำงาน หากว่าเป็นรุ่นเก่า VM80 จะสั่งการทำงานตรงเข้าไปที่อุปกรณ์ต่างๆทันที สั่งงานอย่างตรงไปตรงมา ทำให้บางครั้งไม่สามารถกำหนดการทำงานก่อนหลังของอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเรื่องนี้เคยเป็นข้อด้อยที่ผมต้องการปรับปรุง จึงได้พูดคุยกับโรงงานอยู่นาน โดยพยายามควบคุมเรื่องราคาไม่ให้เพิ่มขึ้นจนเป็นการผลักภาระให้กับผู้ใช้  ซึ่งทางโรงงานมีค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรมใหม่ แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทั้งทางโรงงานและผม จึงได้มีข้อสรุปว่าให้สั่งของในจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า เพื่อที่จะเข็นเอาโปรแกรมนี้ออกมาให้ได้ และสามารถตอบสนองกับความต้องการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม และสามารถจัดลำดับการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆได้ ตัวอย่างเช่น

หากว่าท่านต้องการเปิดพัดลม เพื่อกวนอากาศ ทำให้เกิดการไหลเวียนอากาศ เพิ่มการกระจายตัวของความชื้นจากจุดที่ตั้ง Blade หรือระบบ Nozzle (ในพื้นที่จะเรียกว่าระบบ รางน้ำ) ให้กระจายความชื้นไปทั่วบ้าน ภายหลังจากที่เครื่องทำความชื้นได้เพิ่มปริมาณความชื้นภายในบ้านขึ้นมาจนถึงระดับ 85 % แล้ว จากนั้นพัดลมดูดอากาศก็จะเริ่มทำงานรับช่วงเป่าความชื้นให้กระจายไปทั่วห้อง ซึ่งระบบนี้เป็นที่ใช้อยู่แถวภาคตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดตราดนั้น  ซึ่งระบบนี้เดิมจะใช้การตั้ง Timer เพื่อเปิดเครื่องทำความชื้นและเปิดพัดลมเพื่อเป่าอากาศและกระจายความชื้นไปทั่วๆห้อง  ซึ่งระบบนี้มีความจำเป็นต้องจัดลำดับการทำงานก่อนหลังของเครื่องเพิ่มความชื้นและพัดลม เนื่องด้วยเครื่องควบคุมความชื้นในสมัยก่อนไม่สามารถจัดลำดับการทำงานได้อย่าง VM80 ดังนั้น Timer จึงเข้ามารับหน้าที่เป็นตัวจัดลำดับในการทำงานให้

แต่ด้วยเทคโนโลยีของ VM80 รุ่นใหม่นี้ สามารถเพิ่มโปรแกรมหน่วงเวลาเข้ามา จึงทำให้สามารถนำเอาประโยชน์ของโปรแกรมหน่วงเวลานี้มาใช้เพื่อจัดลำดับการทำงานก่อนหลังของอุปกรณ์ต่างๆได้

โดยให้ช่องสั่งการทั้ง AL1 ทำงานเพิ่มความชื้นขึ้นไปจนถึงจุดที่ต้องการ อย่างเช่น 85% Rh แล้วหยุด
และสั่งให้ AL2 ทำงานที่ 85 % Rh เพื่อเข้ารับช่วงการทำงาน แต่จะหน่วงการทำงานของ AL2 ไว้

ดังนั้นเมื่อ AL1 เพิ่มความชื้นขึ้นไปจนถึง 85% Rh ช่องสั่งการ AL1 หยุดการทำงานและตามปกติแล้ว AL2 สั่งการทำงานไปที่พัดลมต่อทันทีเมื่อความชื้นขึ้นมาอยู่ที่ 85% Rh ซึ่งในขณะนั้นละอองน้ำอาจจะมีมากเต็มห้อง หรืออาจจะเป็นละอองน้ำที่ใหญ่เกินไปจนสามารถเป็นสื่อไฟฟ้าทำให้พัดลมเกิดการ Short ขึ้นมาได้ แต่ว่าด้วยโปรแกรมหน่วงเวลาที่เพิ่มเข้ามาใน VM80 จะสามารถหน่วงเวลาออกไปให้ละอองน้ำเม็ดใหญ่ได้มีเวลาพักระเหยตัวไปหมดจนไม่สามารถเป็นสื่อไฟฟ้าแล้ว และเมื่อครบตามเวลาที่ได้หน่วงเอาไว้ AL2 ก็จะค่อยสั่งเปิดพัดลม เพื่อกระจายความชื้นไปอย่างทั่วถึงต่อไป

 โปรแกรมหน่วงเวลาที่เพิ่มเข้ามาใน VM80 รุ่นใหม่นี้ สามารถหน่วงการทำงานเป็นหน่วยนาทีได้นานถึง 0-255 นาที หรือประมาณ 4ชั่วโมง 15นาที ดังนั้นเราสามารถดึงเอาประสิทธิภาพตรงนี้ออกมาใช้งานได้หลายหลากมากขึ้น และเหมาะสมกับสภาพอากาศที่แกว่งตัวไปมาอย่างรวดเร็ว ณ.จุดที่เครื่องจะต้องสั่งการเปิด-ปิดการทำงานของอุปกรณ์ เมื่ออุณหภูมิหรือความชื้นเริ่มเข้าใกล้จุดสั่งการของมิเตอร์นั้น ในช่วงแรกอุณหภูมิหรือความชื้นจะยังไม่มีเสถียรภาพมากเพียงพอ ซึ่งจะขึ้นๆลงๆ เกิดการแกว่งตัวที่จุดสั่งการอยู่สักระยะหนึ่ง จนอุณหภูมิ-ความชื้นมีเสถียรภาพมากพอ ก็จะสามารถก้าวข้ามจุดสั่งงานได้อย่างถาวร 

ซึ่งการแกว่งตัวของอุณหภูมิหรือความชื้น ณ.จุดสั่งการของมิเตอร์นั้นจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เปิดๆ ปิดๆ จนกว่าอุณหภูมิความชื้นจะมีเสถียรภาพมากเพียงพอ (หรือมีค่ากว่า หรือน้อยกว่า) จุดที่สั่งงานอย่างถาวรแล้ว  แต่ด้วยโปรแกรมหน่วงเวลาของ VM80 ในรุ่นใหม่ ได้เข้ามาอุดช่วงว่าง หรือข้อด้อยใน มิเตอร์รุ่นอื่นได้อย่างเหมาะสม จนกว่าสภาพอากาศไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิหรือความชื้นจะก้าวข้ามจุดสั่งการไปอย่างถาวรจึงค่อยสั่งการเปิด-ปิดอุปกรณ์ต่างๆ โดยไปต้องเสี่ยงกับการเปิดๆๆ ปิดๆๆ จนทำให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ต่างๆได้

เห็นโปรแกรมการทำงานที่ครบถ้วนของ VM80 ในรุ่นใหม่ที่เสริมเขี้ยวเล็บให้ฟรีๆๆ ในราคาที่เท่าเดิม แต่ได้รับประสิทธิภาพสูงสุด  ผมอยากเสนอแนะให้ท่านที่สนใจรีบสั่ง VM80 รุ่นไปทดลองใช้เพื่อดูประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อสอดคล้องกับการทำงานจริง สามารถควบคุมอุณหภูมิความชื้นได้ตามความต้องการของท่าน ก่อนที่จะถึงหน้าร้อนปี 54 นี้ เมื่อเข้าสู่หน้าร้อนอย่างจริงจัง

ปล. ตามที่ได้สังเกตุ ช่วงนี้นกเริ่มมีการเล่นเสียง เริ่มบินสำรวจบ้านบ้างแล้วนะครับ เพื่อเตรียมหาที่ทำรัง วางไข่ และเลี้ยงลูกนกให้โตทันช่วงหน้าฝนที่กำลังจะวนกลับมาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้  ดังนั้นช่วงนี้ให้เริ่มตรวจสอบรายละเอียดต่างๆไว้ให้พร้อมเสียแต่เนิ่นนะครับ  จะได้ไม่พลาดโอกาสดีๆที่จะมาถึง

เดี่ยวจะนำเอา Clip การตั้งโปรแกรมการหน่วงเวลามาสาธิตให้ชมกันครับในวันต่อๆไป เพราะว่า วันนี้ติดธุระหลายอย่างครับผม

                                                                                        Vuthmail-Thailand
                                                                                                09.03.54


VM-80HT ประกอบลงกล่องกันน้ำพร้อมใช้งาน

ผมนำเอา VM-80HT ประกอบลงกล่อง ทำเป็นปลั๊กเสียบช่องสั่งการ AL1 แยกเป็นอิสระจากช่องสั่งการ AL2 เพื่อเกิดความเหมาะสมตามลักษณะการใช้งานที่หลากหลายครับ นำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆได้อย่างเหมาะสม

เนื่องจากตัวผมเองไม่ค่อยมีเวลาว่าง และก็เข้าใจว่ายังมีเพื่อนอีกหลายๆคนมีความเข้าใจเรื่องไฟฟ้าน้อยมาก อีกอย่างเรื่องไฟผมก็ไม่เก่งเลย แต่เห็นประโยชน์ว่าสามารถนำเครื่อง VM-80HT ไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ  ซึ่งการเดินระบบไฟฟ้าในงานแต่ละอย่างแต่ละประเภท ก็แตกต่างกันไปตามแต่ละวัตถุประสงค์ รวมทั้งงานบ้านนกก็จะใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เพราะว่าแต่หลังก็จัดวางตำแหน่งเครื่องควบคุมไม่เหมือนกัน บางคนทำเป็นตู้ Control และบางคนก็อยากจะให้ใช้ได้ง่ายๆ สามารถนำไปวางไว้บนโต๊ะอย่างตัวต้นแบบของผมนี้ ซึ่งจะทำให้ใช้งานได้สะดวก เคลื่อนย้ายได้ง่าย มีความปลอดภัยสูง คล่องตัวมากๆ หรือจะนำไปติดที่ผนังอาคารก็ได้

คงมีเพื่อนๆบางคนที่อยากได้เพราะใช้งานได้ง่าย-สะดวก แต่ว่าไม่สามารถทำเองได้หรือทำไม่เป็น ประกอบกับตัวผมเองก็ไม่มีเวลา ไม่มีโอกาสจะมานั่งลงกล่องให้ จึงอยากให้คนที่เข้าใจเรื่องไฟฟ้าจริงๆ คนที่เป็นช่างอยู่แล้วทำจะทำได้ดีกว่าตัวต้นแบบของผมนี้ และยังสามารถเพิ่มอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องการได้อีกอย่างเช่น Timer หรือุปกรณ์เสริมต่างๆที่เป็นเฉพาะตัวเฉพาะตนตามรูปแบบของท่านเอง  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องให้คนที่เป็นช่างไฟตัวจริงเสียงจริงเป็นคนจัดทำให้จะดีกว่า อีกอย่างเรื่องการต่อ VM-80HT ลงเป็นกล่องควบคุม ผมเองก็อาศัยพึ่งพาคุณหนุ่มจันทน์มาโดยตลอด จึงเชื่อมั่นว่าคุณหนุ่มจันทน์นำ VM-80HT ลงกล่องประกอบเป็นตู้อย่างตัวต้นแบบตัวนี้ให้เพื่อนๆอย่างสบายๆ

ส่วนเรื่องราคา VM-80HT ที่นำมาลงกล่องพร้อมใช้งานอย่างที่เห็น ราคาอยู่ที่ 6,000 บาท (ไม่แพง ราคารับได้ครับลองตรวจสอบราคาดูก่อน ซึ่งเครื่องทั่วๆไปราคาจะสูงกว่านี้และยังต้องนำไปประกอบเป็นตู้เอง) ซึ่งผมก็ได้สอบถามจากคุณหนุ่มแล้วครับ ราคานี้อย่างนี้พออยู่ได้ พอเหมาะพอสมกับค่าแรงของคุณหนุ่มจันทน์ครับ ไม่ได้บวกอะไร ค่าแรงสมเหตุสมผล




ผมได้แจกแจงอุปกรณ์ที่ต้องใช้เพื่อนำลงใส่กล่องมีดังนี้

1.-ค่ากล่องเอนกประสงค์ประมาณ 220 บาท
2.-ฟิวส์และสวิทช์ ประมาณ 70 บาท
3.-ค่าสายไฟนอก-ใน 50 บาท
4.-ค่าปลั๊ก 6 ตัวประมาณ 310 บาท

ราคาวัสดุอุปกรณ์ส่วนเพิ่มเหล่านี้ก็ร่วมๆ 650 บาท ส่วนที่เหลือเป็นค่าแรงของคุณหน่มอีกหน่อยครับ  โดยส่วนตัวผมคิดว่าไม่แพง ส่วนเรื่องสาย LAN อันนี้แล้วแต่เลือกครับ ซึ่งผมได้บอกรายละเอียดเรื่องสาย LAN ให้กับคุณหนุ่มไปทั้งหมดแล้วครับ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบ เกรดคัดพิเศษความต้านทานต่ำ (สำหรับคนที่เน้นการ Calibrate ค่าน้อยๆ) พร้อมทั้งเกรดธรรมดา ราคาถูก และความยาวสายที่ต้องการใช้ของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นผมจึงไม่นำรายการสาย LAN มารวมด้วย

                                                                                            Vuthmail-Thailand
                                                                                                    24.12.53

การใช้สาย LAN เกรดพิเศษ เพื่อต่อขยายความยาวสาย Sensor ของโรงงาน

ผมพยายามที่จะแก้ไขจุดบอดเล็กๆน้อยๆ ที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนที่ใช้ความยาวสายที่ค่อนข้างยาวมาก ซึ่งเดิมที่ผมค่อยๆแก้ไข ได้ทีละจุดจากเดิม 11.5 เมตร  มาเป็น 27 เมตร แต่ตอนนี้ผมมีความมั่นใจมากว่าจะสามารถต่อได้ถึง 100 เมตร ซึ่งผมจะทำ DIY เรื่องนี้อีกที ซึ่งจะสอบเทียบ 100 ถึง 200 เมตร เพื่อดูประสิทธิภาพของสาย LAN เกรดพิเศษนี้

จากเดิมสาย LAN ที่ใช้เป็นสายธรรมดา ที่หากซื้อทั่วไปโดยที่ไม่มีความเข้าใจจริงก็อยากจะโดนสายที่มีความต้านทานสูงโดยไม่รู้ตัว แต่คราวนี้ผมทดลองซื้อสายที่มีความต้านทานต่ำตาม Specfication ของทางโรงงาน (อันนี้มาทราบในตอนหลังจากโรงงานว่าให้เน้นสายที่มีความต้านทานต่ำกว่า 10 โอห์ม) ซึ่งผมก็ไปเที่ยวสอบถาม แต่ว่าก็ไม่ได้ข้อมูลเรื่องของความต้านทานภายในสายเลย สุดท้ายผมตัดสินใจซื้อสาย LAN ที่เป็นเกรดพิเศษมาทดลอง (กล่องละ 3850 บาท) แต่แบ่งซื้อปลีกมาเพื่อใช้ทดลองแค่ 60 เมตร

ก็อย่างที่เห็นค่าความคลาดเคลื่อน ความเพี้ยนของสายยาว 30 เมตรที่วัดออกมาได้เมื่อเทียบกับสายมาตราฐานจากโรงงาน (สาย PT-100) ที่ความยาวแค่ 3 เมตร ปรากฎว่าค่าที่วัดออกมาได้ต่างกันน้อยมากครับ 1 องศาถึง 2.1 องศา ความชื้นก็ต่างกันไม่มาก (โดยส่วนใหญ๋จากที่ใช้สาย LAN 3 ยี่ห้อ 3 เกรด ค่าความชื้นไม่ค่อยมีปัญหา ส่วนมากจะใกล้เคียงกันจนเป็นที่น่าแปลกใจ)  แต่หากว่าเป็นเรื่องของอุณหภูมินั้น คุณภาพของสายที่ใช้จะเป็นปัจัยที่สำคัญมาก ดังจะเห็นได้ว่าโรงงานใหญ่จะต้องใช้สาย PT-100 ตลอดความยาวที่ใช้เลยซึ่งยาวมากๆกว่า 200 เมตร เพื่อให้ได้ความถูกต้องสูง แต่ของเราใช้กันเต็มก็คงไม่เกิน 100 เมตร ซึ่งเรื่องนี้ผมจะหาโอกาสทดลองความยาวที่ 100-200 เมตรเพื่อดูประสิทธิภาพกับผลที่ได้รับจริง เพื่อให้เป็น Reference ของผมและคนที่สนใจเรื่องเหล่านี้

ลองดู Clip จากการทดลองสาย LAN เกรดพิเศษ



หากว่าภาพไม่ขึ้นรบกวน Link ที่  http://www.youtube.com/watch?v=IUcNDVbifq8

                                                                                   Try to Best
                                                                             Vuthmail-Thailand
                                                                                     23.12.53

สาธิต VM-80 HT ควบคุมความชื้น-อุณหภูมิในเวลาเดียวกัน

วันนี้ผมจะทดสอบการควบคุมความชื้น-อุณหภูมิในเวลาเดียวกัน โดยใช้เพียง VM-80 HT เพียงตัวเดียว
และใช้ Blade Humidifier ชุดเดียวกันทั้งให้ความชื้น และก็ Blade Humidifier ชุดเดียวกันนี้แหละครับในการควบคุมอุณหภูมิ รับ Load จาก Blade 3 ตัวเหมือนเดิมครับ

โดยตั้งค่าให้ช่องสั่งการ  AL1 ควบคุมความชื้นไม่ให้ต่ำกว่า  77 Rh%  แต่ไม่เกิน  85 Rh%
ดังนั้นช่องสั่งการ  AL2 รับหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 30c แต่ไม่ต่ำกว่า 28.4c

เรามาเริ่มต้นด้วยการต่อสายไฟ สำหรับ VM-80 HT ที่ผมเคยบอกนักบอกหนา ว่าง่าย สะดวกมากครับ
ด้วยการเชื่อมสายไฟของช่องสั่งการทั้ง 2 ช่องเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงนำเอาสาย Blade Humidier เส้นที่เหลือไปเชื่อมต่อกับต่อกับช่อง 4 หรือ 5 ก็ได้ครับ ( สาย Blade Humidifier จะต้องมีเส้นหนึ่งที่ต่อเข้าช่อง1 )  ซึ่งจากการอธิบายเป็นข้อความผมว่าจะไม่ค่อยเห็นภาพ ไม่เข้าใจ ดังนั้นเรามาดูการต่อเชื่อมของจริงดีกว่าครับ ง่ายกว่าเยอะ



จากรูปผมคิดว่าคงทำความเข้าใจได้ไม่ยากนะครับ  และเพื่อนๆ คงจะได้ชมการทำงานตามที่ปรากฎอยู่ใน Clip ด้านล่าง ไฟไม่ช๊อต และสามารถทำงานได้ตามปกติ โดยที่ AL1 ทำงานไฟก็จะสว่าง, AL2  ทำงานไฟก็จะสว่าง หรือทั้ง AL1และAL2 สว่างพร้อมกัน ทำงานพร้อมๆกัน การเดินสายไฟที่เห็นในภาพจะไม่ทำให้เกิดการลัดวงจร หรือ ไฟช๊อตแต่อย่างใดทั้งสิ้น


จากใน Clip จะเห็นได้ว่า เมื่อเปิดเครื่อง AL1 ซึ่งควบคุมด้วยความชื้นจะทำงานทันที เพราะว่าความชื้นต่ำกว่า 75 Rh% และตัดหยุดการทำงานที่ 85 Rh% ได้อย่าถูกต้อง ในขณะที่ AL2 จะยังไม่ทำงานเพราะว่าอุณหภูมิยังไม่สูงกว่า 30 องศา ซึ่งเป็นอุณหภูมิสูงที่สั่งให้เปิดเครื่อง

แต่เมื่ออุณหภูมิขึ้นสูงจนถึง 30 องศา ไฟที่ช่อง AL2 สว่างขึ้น ก็หมายถึงว่าเครื่องทำงานด้วยอุณหภูมิ  ซึ่งให้เพื่อนๆสังเกตุว่าเมื่อไฟของทั้ง AL1 และ AL2 ขึ้นพร้อมๆกัน ไฟจะไม่ลัดวงจร ไฟไม่ช๊อต โดยให้สังเกตุจาก Blade Humidifier ทั้ง 3 ตัวยังทำงานเป็นปกตินะครับ  เมื่อทั้ง AL1และ AL2 ทำงานพร้อมๆกัน ก็หมายถึงว่า Blade Humidifier ชุดเดียวกันนี้ทำงานในทั้ง 2 เงื่อนไขคือสามารถใช้ควบคุมได้ทั้งความชื้นและอุณหภูมิไปพร้อมๆกันในเวลาเดียวกัน





ใน Clip จะเห็นได้ว่าเมื่อความชื้นขึ้นถึง 85 Rh% ช่องสั่งการ AL1 ที่ควบคุมความชื้นจะหยุดทำงาน ไฟที่ AL1 จะดับแต่อุณหภูมิเกินยังไม่ต่ำกว่า 28.4 องศา Blade Humidifier ชุดเดียวกันนี้ก็จะทำงานต่อไปเพื่อลดอุณหภูมิจนกว่าจะลดลงเหลือ 28.4 องศา AL2 จึงจะหยุดทำงาน ซึ่งเพื่อนๆได้เห็นกันแล้วตามที่ปรากฏอยู่ใน Clip จึงสรุปได้ว่าการควบคุมสั่งการเป็นไปตามวัตถุหลักของเครื่อง VM-80 HT ที่สามารถใช้ควบคุมได้ทั้งความชื้นและอุณหภูมิในเวลาเดียวกัน โดยใช้เครื่อง VM-80 HT เพียงเครื่องเดียว และ Blade เพียงชุดเดียวสามารถทำงานคุมทั้งอุณหภูมิและความชื้นได้ครบทั้ง 2 อย่าง

หากว่าท่านเป็นช่างไฟฟ้าเอง และไม่มี VM-80 HT ตัวนี้ก็สามารถซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิและเครื่องควบคุมความชื้นมาต่อเป็นระบบอย่างนี้ก็ได้ครับ  แต่หากท่านไม่เก่งหรือไม่มีความรู้ในการเดินระบบไฟอย่างช่างไฟฟ้า ผมว่าจะเป็นการง่ายและสะดวกกว่า หากเพื่อนๆจะนำ VM-80 HT ไปใช้เพราะว่าการเดินสายไฟตามรูปได้ไม่ยากนัก ทำเพียงไม่กี่จุด และตั้งตัวแปรตามที่เพื่อนๆต้องการอีกเล็กน้อย ก็สามารถใช้ไฮโกรสแตท VM-80 HT ในการควบคุมอุณหภูมิ+ความชื้นได้แล้ว ง่ายมากๆไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไร  ผมว่าช่างไฟเองก็ชอบ เพราะว่าติดตั้งได้ง่าย การเดินสายน้อยลงมาก ลดจุดเชื่อมต่อต่างๆไปได้มากจริงๆ

ก่อนหน้านี้ ตัวผมเองอยากได้ USB Data Logger เพื่อนำมาเก็บข้อมูลสภาพอากาศภายในบ้านนกของผมเอง  แต่เมื่อลองสอบถามราคาดู เท่าที่ผมจำได้ราคาอยู่ที่ประมาณ 5,000-7,500 บาท แต่ตอนนี้ผมหมดความสนใจเรื่อง USB Data Logger ไปเลยเพราะว่าราคา VM-80 HT ราคายังถูกกว่าราคาขั้นต่ำของ USB Data Logger เสียอีก เพราะราคาของ VM-80 HT ย่อมเยาว์กว่า USB Data Logger  หากว่าท่านซื้อ USB Data Logger ก็จะได้เพียงแค่การเก็บข้อมูล แต่ VM-80 HT ราคาถูกว่าและยังได้เป็นระบบการควบคุมที่มีประสิทธิภาพมาใช้แทนทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงแค่การเก็บข้อมูล (ได้มากกว่าที่คิดจริงๆ)

อ้อผมลืมแจ้งเรื่องของช่อง RS485 ที่ใช้ติดต่อกับ Computor นั้นเป็น Option เพิ่มเติม ซึ่งทางโรงงานได้แจ้งมาให้สำหรับคนที่ต้องการใช้ในการเก็บข้อมมูลจะต้องแจ้งก่อนสั่งของ และมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มเติมประมาณ 700 บาทครับ
                                                                                          Vuthmail-Thailand
                                                                                                   18.12.53

เจาะลึก Specfication ของ Hygrostat VM-80

Specification ของ VM-80

1.- Power ระดับไฟเข้า 90-260 ACv / 50-60 Hz ไม่ต้องซื้อ Adaptor  DC เพิ่ม
2.- Consumption กินไฟน้อยกว่า 5 v
3.- Accuracy ค่าความเพี้ยนต่ำมากเพียง + 0.3% เครื่องทั่วไปความเพี้ยนมากถึง + 5%
      จึงให้ความถูกต้องในการวัดมากกว่า 94% ซึ่งสูงมาก เมื่อเทียบกับเครื่องทั่วๆไป
4.-Sampling Speed การติดต่อรับค่าอุณหภุมิ ความชื้น ประมาณ 8 ครั้งต่อวินาที
5.- Alarm ช่องสั่งงาน จ่ายไฟออก ผ่าน Relay 250v ทนกระแสได้ 5A
6.- Analouge ช่องต่อพ่วง อุปกรณ์เพิ่มเติม จ่ายไฟขนาด 0-20 mA หรือ 4-20 mA
7.- Interface ช่องต่อพ่วง Computer โดย RS232 RS485 หรือ MODBUS RTU

ข่าวดีเพิ่มเติมแบบเล็กๆนะครับ

     ตามที่ผมได้กล่าวไว้แล้วว่า ผมให้ทางโรงงานเปลี่ยน Raley จาก 3A มาเป็น 5A ให้และเป็นการเปลี่ยน Relay จากโรงงานมาเลย ซึ่งผมคิดว่าน่าจะได้มาตราฐานที่สุด ด้วย Relay ขนาด 5A นี้จากที่ผมเคยบอกว่าจะใช้กับ Blade Humidifier ได้แค่ 2 ตัว ก็ต้องแก้ไขใหม่ครับ  Hygrostat รุ่นใหญ่ VM-80 นี้จะสามารถใช้กับ Blade Humidifier ซึ่งใช้ Cap Run จะสามารถใช้กับ Blade Humidifier ได้มากขึ้นเป็น 3 ตัวเลยครับ ยิ่งทำให้ท่านผู้ที่ใช้ Blade Humidifer จ่ายเงินน้อยลงอีก คุ้มสุดๆๆเลย และสามารถเพิ่มได้เป็น 6 ตัวได้โดยความสามารถของ ช่องสั่งการที่แยกอิสระจากกัน 2 ช่อง AL1 และ AL2 (คำอธิบายอยู่ด้านล่างๆนะครับ)


    อย่างที่ผมได้กล่าวมาแล้วนะครับว่า VM-80 รุ่นนี้สามารถคบวบคุมได้ทั้งความชื้นและอุณหภูมิ และสามารถแยกช่องสั่งการเป็น 2 ชุดคือชุด AL1 และ AL2 แยกอสิระจากกัน จึงทำให้ VM-80 รุ่นนี้สามารถควบคุมได้ด้วยเงื่อนไข ทั้ง 4 เงื่อนไข คือ



                                                    AL1                  AL2
เงื่อนไขที่ 1 - ควบคุมโดย         ความชื้น        อุณหภูมิ
เงื่อนไขที่ 2 - ควบคุมโดย         อุณหภูมิ         ความชื้น  
เงื่อนไขที่ 3 - ควบคุมโดย         อุณหภูมิ         อุณหภูมิ
เงื่อนไขที่ 4 - ควบคุมโดย         ความชื้น        ความชื้น




และเงื่อนไขการควบคุมค่าใน AL1 และ AL2 นี้ ซึ่งช่องสั่งการทั้ง 2 ช่องนี้ยังแบ่งค่าตัวแปรในการควบคุมออกเป็นอีก 6 ตัวแปร ( 6 Parameter) ซึ่งประกอบด้วย 

       1.-กำหนดค่า "อุณหภูมิ-สูงสุด "  (tH)                       2.-กำหนดค่า " อุณหภูมิ-ต่ำสุด "  (tL)              
       3.-กำหนดค่า "ความชื้น-สูงสุด "  (rH)                      4.-กำหนดค่า " ความชื้น-ต่ำสุด "  (rL)              
       5.-กำหนดช่วงทำงานด้วยอุณหภูมิได้  เช่น ให้ทำงาน ช่วง 28-30 องศา (C-Temperature in Range)  
       6.-กำหนดช่วงทำงานด้วยความชื้นได้ เช่น ให้ทำงาน ช่วง 75-85 Rh%   (HU-Humidity in Range)    

 
ซึ่ง Function เหล่านี้ค่อนข้างครอบคลุมการทำงานได้เกือบทุกรูปแบบ  ซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดการทำงานที่โดนใจคุณได้มากกว่าดีกว่า และที่สำคัญมีความยืดหยุ่นกว่า ซึ่งทำให้เราสามารถเลือกการควบคุมได้มากขึ้นหลากหลายขึ้นกว่าเดิม สามารถเลือกให้ตรงความกับความต้องการใช้งาน และสามารถปรับให้สอดคล้องกับตัวแปรของฤดูกาลที่จะวิ่งเข้ามากระทบได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

อย่างเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในภาคใต้ซึ่งกำลังน้ำท่วมและมีฝนหนักอยู่ในขณะนี้ ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องชาวใต้ สภาพอากาศเช่นนี้เป็นสภาพการณ์ที่สร้างปัญหาให้กับบ้านนกทางใต้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องความชื้นที่สูงเกินพอดีไปมาก ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของรา  ซึ่งเครื่องควบคุมความชื้นที่ท่านกำลังใช้อยู่อาจจะไม่สามารถทำงานตามที่ท่านต้องการ เหมือนอย่างที่ท่านเคยคิดเอาไว้จนลุกลามกลายเป็นปัญหาที่สายเกินแก้ เพราะว่าได้ปัญหาต่างๆได้เกิดขึ้นไปแล้ว

ซึ่งปัญหาของภาคใต้ตอนนี้ตามที่ผมได้รับรู้รับทราบมาจากเพื่อนๆที่ตามอ่าน Blog ก็คือความชื้นสูงเกินไป และไม่สามารถจะแก้ไขได้ เพราะไม่รู้ว่าจะจัดการกับความชื้นส่วนเกินที่สูงขึ้นมากอย่างไร และ Hygrostat ที่ใช้อยู่มี Function น้อยและไม่สามารถ SET ค่าให้ทำงานตามเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปได้ ซึ่งก็ได้แต่เป็นเพียงการคาดการณ์ โดยเปิดดูดอากาศในห้องนกทิ้งไปเรื่อยๆ เน้นการระบายออกให้มากแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงมาก เพราะว่าเวลาที่ตั้งไว้อาจจะไม่เพียงพอ จึงทำให้ยังมีความชื้นส่วนเกินอยู่ ปัญหาจึงยังไม่จบ  หรือหากว่าตั้งเวลาการทำงานไว้นานเกินไป ความชื้นก็ต่ำเกินไปและสร้างปัญหาเรื่องรังหลุดได้อีกเช่นกัน

แนวทางการแก้ปัญหาความชื้นส่วนที่เกิตขึ้นในขณะนี้  สำหรับเครื่องควบคุมความชื้นรุ่นอื่นๆ ผมคงให้คำตอบได้ไม่ชัดเจน ไม่ถนัดเท่าไหร่ครับ  แต่หากว่าเป็น Hygrostat VM-80 ตัวนี้ ผมพอที่มีแนวทางในการแก้ปัญหาได้และตรงตามความต้องการ ตรงกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ให้ท่านต้องการได้บ้างครับ

ตามที่ผมกล่าวไว้แล้วว่า VM-80 สามารถตั้งการควบคุมได้ 4 รูปแบบ โดยเฉพาะรูปแบบที่ 4 ซึ่งเป็นการควบคุมโดยกำหนดให้ควบคุมประเภท ความชื้น กับ ความชื้น

โดยเราสามารถกำหนดให้

โดยให้ AL1 - บริหารจัดการเรื่องการเติมความชื้นในกรณีความชื้นในบ้านนกต่ำเกินไป  ให้เปิด Blade Humidifier เพื่อเติมความชื้นใน Nesting Room ทันทีที่ความชื้นต่ำเกินกว่า 75 Rh% และหยุดระบบการเพิ่มความชื้น เมื่อความชื้นขึ้นมาที่ 85 Rh% (ค่าเหล่านี้สามารถกำหนดได้เอง ร่วมกับ Parameter ทั้ง 6 ตัว)

  ส่วน  AL2 - ให้บริหารจัดการเรื่องของความชื้นส่วนเกินที่อยุ่ภายใน Nesting Room โดยการสั่งเปิดเครื่อง Dehum เปิดพัดลมดูดอากาศ เมื่อความชื้นได้ขึ้นไปสูงเกินกว่า 92 Rh% (กำหนดค่าได้ตามต้องการ) ให้เริ่มดูดอากาศออก เปิดเครื่อง Dehum และสั่งปิดการทำงานของระบบเมื่อความชื้นส่วนเกินลดลงมาอยู่ 85 Rh% (ค่าเหล่านี้สามารถกำหนดได้เอง ร่วมกับ Parameter ทั้ง 6 ตัว)


ดังนั้น VM-80 จะบริหารจัดการความชื้นให้อยู่ในช่วงที่เราต้องการได้อย่างแท้จริง ทำให้ความชื้นไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่นกชื่นชอบ และไม่สูงจนเกินไปจนทำให้มีความชื้นส่วนเกินสะสมใน Nesting Room ซึ่งจะสร้างปัญหาเรื่องรา หรือ รังย้วย-เสียรูปทรง ตามมา

โดยปกติแล้วหากว่าเราใช้ VM-80 ในการควมคุมความชื้นอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอุณหภูมิแล้ว การควบคุมการสั่งงานก็จะสั่งผ่าน ช่องสั่งการ AL1 เพียงช่องเดียวก็เพียงพอแล้ว ดังนั้น AL2 จึงว่างอยู่ ดังนั้นเราสามารถเก็บช่อง AL2 ไว้เป็นช่องสั่งการสำรองได้ หากว่า Relay ของ AL1 เกิดความเสียหายขึ้นมา  เราก็สามารถนำช่องสั่งการ AL2 มารับช่วงการทำงานต่อจาก AL1 ได้ทันที โดยป้อนค่าตัวแปรต่างๆที่ใช้กับช่องสั่งการ AL1 เข้าไปที่ช่องสั่งการ AL2 เมื่อป้องค่าเสร็จแล้ว ก็จะทำให้ช่องสั่งการ AL2 ทำหน้าที่แทน AL1 ที่เสียหายได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องยกไปซ่อมหรือจ่ายเงินเพื่อซื้อเครื่องใหม่  ที่สำคัญคือว่าช่อง AL2 จะรับช่วงการทำงานต่อจาก AL1 ได้ทันที

หรือหากว่าท่านใดที่ต้องการใช้ Balde Humidifier 6 ตัวพร้อมกัน โดยใช้ VM-80 เพียงตัวเดียวในการควบคุมก็สามารถทำได้ครับ โดยนำเอาประโยชน์ของ AL2 ที่ว่างอยู่มาใช้ โดยท่านจะต้องใส่ค่าตัวแปรของ AL2 ด้วยเงื่อนไขเดียวกับ AL1 ทุกอย่าง ซึ่งก็จะทำให้ท่านสามารถควบคุม Blade Humdifier ได้ 6 ตัว โดย ช่องผ่านสั่งการของ AL1-เพื่อควบคุม Blade Humidifier 3 ตัวแรก และผ่าน AL2 - เพื่อควบคุม Blade Humidifier 3 ตัวที่เพิ่มเติมเข้ามา  จึงทำให้ VM-80 สามารถควบคุม Blade Humidifier ได้รวมกันเป็น 6 ตัว โดยท่านจะต้องแยก Main ไฟให้ชัดเจนว่า Main ของ AL1 จะไปควบคุมที่ไหน และ AL2 จะไปควบคุมจุดไหนแยกให้ชัดเจน  หากว่าทำตามนี้ VM-80 จะสามารถควบคุมการทำงานได้ถึง 6 ตัวครับ  ซึ่งในตึกนกของผมเอง  อย่างที่ท่านได้เห็นอยู่ใน Clip เก่า หากว่าท่านสังเกตุ จะเห็นว่าผมได้แยกควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็น 2 ซีก แยก Main การควบคุมออกเป็นปีกซ้ายของตึก 1 ชุด ปีกขวาของตึกเป็นอีก 1 ชุด แยกขาดออกจากกัน (เพื่อประโยชน์หลายๆอย่างครับ)

หากว่าท่านใดต้องการใช้ควบคุมทั้งความชื้นและอุณหภูมิทั้ง 2 อย่างพร้อมกันก็สามารถทำได้ โดยแบ่ง AL1-ควบคุมความชื้น และ AL2-แยกไปควบคุมอุณหภูมิได้อย่างเหมาะสม หรือจะแยกไปควบคุมความชื้นส่วนเกินก็ยังทำได้ หรือจะนำไปเพิ่มจำนวนเครื่อง Blade Humidifier อีก 3 ตัวก็ทำได้ หรือจะเก็บไว้เป็นช่องสั่งการสำรองก็ยังทำได้ รวมทั้งมี Parameter ในการควบคุมอีก 6 parameter เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานที่หลากหลายจริงๆ

พร้อมทั้งยังมีความสามารถในการสื่อสารกับ Computer โดยผ่าน Port RS-232 , RS-485 และความสามารถของ PLC อีก และยังมี Function ที่ให้ท่านสามารถที่จะสอบเทียบผลที่วัด (Calibrate) ได้ด้วยตัวเอง

    ผมว่า VM-80 ตัวนี้ มีความสามารถเกินตัว คุณภาพเต็มประสิทธิภาพจริงๆ    

โดยส่วนตัวผมคิดว่าเครื่องควบคุมความชื้นที่มีความครบถ้วน ตอบสนองความต้องการได้มากมายขนาดนี้ ผมว่าหาได้ยากจริงๆ ผมว่า VM-80 ตัวนี้สุดยอดจริงๆๆๆๆ   หาตัวเทียบได้ยากเมื่อเทียบกับเครื่องทั่วๆไปที่มีขายกันอยู่ 
    ท่านมีความคิดอย่างไรบ้างครับ กับ VM-80 รุ่นใหญ่ตัวนี้  

หมายเหตุ - ราคาเครื่องรุ่นอยู่นี้ ราวๆ 48% นิดๆๆ ของเครื่องรุ่นใกล้เคียงกัน ราคานี้คุ้มมาก ผมหาของถูก คุณภาพดี มาให้ใช้กันครับ

                                                                                              This is it
                                                                                     Vuthmail-Thailand
                                                                                              17.11.53

การตั้งค่า เพื่อควบคุมอุณหภูมิ-ความชื้นของ VM-80HT

สวัสดีครับ หลังจากที่ห่างหายไปนาน เนื่องมีงานประดังประเด เข้ามาหลายเรื่องหลายอย่างให้จัดการ ทั้งงานประจำที่จะต้อง Clear ซึ่งคั่งค้างมานาน เนื่องจากสาเหตุที่ต้องการหา Hygrstat ประสิทธิภาพสูงมาใช้ในตึกนกของตัวเอง  ทำให้หมดเวลาไปมากกว่าที่จะมาสรุปได้ การสั่งของเข้ามา การเดินเอกสารต่างๆวุ่นวายไปหมด ก็พอดีข้ามเดือนไปแล้ว

เริ่มต้นเดือนใหม่งานเก่ายังไม่ได้สะสาง VM-80 HT ก็มาต้นเดือนธันวาคมอีก ก็อย่างว่าครับเห่อของใหม่ ก็จำเป็นต้องเรียนรู้และใช้งานให้ได้เต็มที่ เพื่อที่จะนำเครื่องไปติดตั้งที่บ้านนกในวันพ่อ 05.12.53 และก็กลับจากบ้านนกมา ก็งานประจำอีกหละครับ ทำให้ไม่มีเวลาต้องเร่งสะสางงานให้ทันกำหนดการณ์ต่างๆ แต่ผมก็ยังเป็นห่วงเพื่อนๆที่ติดตามความเคลื่อนไหวของ VM-80 HT  ผมก็เลยนำเอาขึ้นตอนการตั้งค่าเพื่อควบคุมการทำงานลงให้ดูพลางๆไปก่อน

และถ่ายเป็น Clip ให้เพื่อนๆดูไปพลางๆก่อน (พอเริ่มสะสางได้มากแล้ว จึงได้มาเขียนอธิบายเพิ่มเติม) ว่าประสิทธิภาพ Hygrostat รุ่น VM-80 HT ว่าสามารถทำงานได้ครบตามเงื่อนไขที่เคยได้กล่าวไว้ในบทความก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยน Relay จาก 3A เป็น 5A มาจากโรงงานที่ผลิตเลย เพื่อให้ได้มาตราฐานที่สูงสุดจากโรงงาน จากใน Clip จะเห็นได้ว่าเครื่องสามารถรับ Load จากเปิด Blade Humidifier พร้อมๆกันได้มากถึง 3 ตัว ต่อ 1 ช่อง หากว่าใช้ช่องสั่งการ 2 ช่อง AL1 AL2 เพื่อให้ความชื้นแต่เพียงอย่างเดียวก็จะสามารถควบคุม Blade ได้ถึง 6 ตัวเลย

คู่มือการตั้งค่าพารามิเตอร์ VM80 Generation แรก ก่อนที่จะมีการเพิ่มพารามิเตอร์การหน่วงเวลา ให้ดูตามนี้นะครับ




ซึ่งในการทดลองนี้ ผมได้เน้นการสั่งงานให้เครื่องทำการควบคุมทั้งความชื้นและอุณหภูมิในเวลาเดียวกัน โดยให้ช่องสั่งการ AL1 บริหารจัดการความชื้น เพื่อไม่ให้ต่ำกว่า 77 Rh% และ ไม่เกิน 85Rh%  ส่วนช่องสั่งการ AL2 ให้บริหารจัดการอุณหภูมิ ซึ่งเรื่องนี้ออกจะซับซ้อนและต้องมีอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆเข้ามาเกียวข้องเพิ่มเติมไม่ใช่เพียงแต่เครื่อง Blade humidifier อย่างเดียว  อย่างเช่น พัดลมดูดอากาศเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นในช่อง AL2 ผมจึงนำเอา Blade humidifier กับ พัดลมมาตั้งคู่กัน เพื่อใช้แทนพัดลมดูดอากาศ ซึ่งจะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น


จากการที่ได้พูดคุยกับหลายๆคน ได้ทราบว่าหลายท่านการควบคุมอุณหภูมินั้นค่อนข้างจะยุ่งยากซับซ้อน เพราะว่าจะต้องเปิดเครื่องทำความชื้น และเปิดพัดลมดูดอากาศไปพร้อมๆกัน ก็เพราะในขณะที่เปิดเครื่องทำความชื้นนั้นจะมี 2 สิ่งที่เกิดขึ้นไปพร้อมๆกัน ก็คือความชื้นจะขึ้นอย่างรวดเร็วและสูง แต่ในขณะที่อุณหภูมิจะค่อยๆลดลงอย่างช้าๆ สวนทางกัน  เมื่ออุณหภูมิลดลงจนถึงจุดที่ท่านต้องการ แต่ความชื้นจะสูงเกินไปมาก จนอาจสร้างปัญหาได้ เพื่อนๆหลายคนจึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องติดพัดลมดูดอากาศ เพื่อดูดเอาความชื้นส่วนที่เกินออกไป และรอให้อุณหภูมิค่อยๆลดลง ผมจึงได้นำเอา AL2 มาต่อเข้ากับ Blade Humidifier พร้อมทั้ง พัดลม ซึ่งหมายถึงพัดลมดูดอากาศนั้นเอง เพื่อให้เพื่อนๆได้เห็นว่า VM-80 HT ทำงานได้จริง ทำงานได้สอดคล้องกับความต้องการของเพื่อนๆจริงๆ

  หากว่าภาพเล็ก รบกวนให้ดูแบบ Full Screen จะชัดเจนกว่า  



                ซึ่ง VM-80 HT ตัวนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อีกหลายอย่าง และซึ่งผมจะนำเสนอในวาระต่อไป อย่างเช่น การใช้ Blade Humidifier ในการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิในเวลาเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมดูดอากาศร่วมด้วย แต่ใช้เทคนิคในการตั้งค่าพารามิเตอร์แทน การนำ VM-80 HT มาประยุกต์ใช้เพื่อดูดเอาอากาศที่ได้เงื่อนไข 2 อย่างพร้อมๆกัน คืออุณหภูมิจะต้องอยู่ระหว่าง 26-28 องศา และความชื้นจะต้องอยู่ระหว่าง 75 Rh%-85 Rh% เข้ามาในบ้านนก ซึ่งเป็นอากาศที่เราๆท่านต้องการ ซึ่งมีข้อดีตรงที่ว่าอากาศดูดเข้ามานั้นที่เป็นธรรมชาติจริงๆ เกิดตามธรรมชาติ เน้นว่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติครับ ซึ่งเพื่อนคงต้องคอยติดตามอ่านตามดูในบทความต่อๆไปครับ

                                                                                             Vuthmail-Thailand
                                                                                                     15.12.53


สำหรับการตั้งค่า VM80 รุ่นใหม่ Generation ที่ 2 ที่มีพารามิเตอร์ที่สามารถหน่วงเวลาของช่องสั่งการทำงานได้  ซึ่งผมได้ลงคู่มือการใช้ไว้ให้เพิ่มเติม ตามรายการด้านล่างนี้นะครับ

ไปติดตั้ง VM-80 HT แล้วครับ

ช่วงปลายเดือน พฤศจิกายน ผมได้รับเครื่องจากต่างประเทศมา ก็เลยมัวแต่ยุ่งๆกับการทดลองและตรวจสอบเครื่องดูว่าถูกต้องตรงตามที่ต้องการหรือไม่ พร้อมทั้งการทดลองเดินสายไฟเอง เดินสายไฟเข้า เดินสายไฟไปยังอุปกรณ์ต่างๆๆ เพื่อดูว่ามีความยุ่งยาก ซับซ้อนหรือไม่ประการใด อีกทั้งการทดลองประสิทธิภาพเครื่องให้เครื่องรับ Load ในระดับต่างๆ และหนักไปในส่วนของการทดลองเปิด Blade Humidifier จำนวน 3 ตัวพร้อมๆกัน จนแน่ใจว่า VM-80 HT รับ Load จากเครื่องทำความชื้นได้ 3 ตัวพร้อมๆกันได้เป็นที่แน่นอนแล้ว  ก็ยังทดสอบทำความเข้าใจการตั้งโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้เครื่องทำงานได้อย่างที่ต้องการ ซึ่งการทดสอบประสิทธิภาพก็ทำกันอย่างหนัก มีความขลุกขลักบ้างพอประมาณ เพราะว่าเป็นของใหม่ ยังไม่คุ้นเคย แต่พอทำไปสักพักก็เริ่มคุ้นเคยทำได้ง่ายสะดวกจริงๆ พร้อมทั้งได้รับความอนุเคราะห์จากคุณหนุ่มจันทน์ จึงทำให้ทุกอย่างผ่านมาได้ด้วยดีครับ แต่ก็หมดเวลาไปมากพอประมาณ-กว่าจะแจ่มแจ้ง และได้เรียนรู้แนวทางแก้ปัญหาต่างจนทะลุปรุโปร่ง จนเกิดเป็นความมั่นใจในตัว VM-80 HT เป็นอย่างมาก

ดังนั้นอาทิตย์ก่อนซึ่งเป็นวันหยุด ผมกับน้องชายจึงได้เดินทางไปบ้านนกเพื่อไปติดตั้ง Hygorstat VM-80 HT โดยความชะล่าใจจึงไม่ได้ตระเตรียมสายไฟที่จะนำมาใช้ต่อขยายความยาวสายของ Sensor  ไปด้วย จึงทำให้ไม่มีสายไฟที่จะขยายความยาวสาย Sensor ได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นสาย PT-100 (เป็นสายประเภท RTD -Resistant Temperature Detector) ซึ่งภายในประกอบไปด้วยสายย่อยจำนวน 5 เส้น ซึ่งมีสีแดง เหลือง ดำ ฟ้า น้ำตาล


- 3 สีแรก สีแดง เหลือง ดำ เป็นเรื่องของความชื้น
- 2 สีหลัง ฟ้า น้ำตาล เป็นเรื่องของสายอุณหภูมิ

หากว่าจะหาซื้อก็ราคาสาย PT-100 ก็จะประมาณเมตรละ 40 บาท ผมลองคำนวณดูคร่าวๆ ผมจะต้องใช้สายยาวประมาณ 150 เมตร ตกเป็นเงินประมาณ 6,000 บาท ซึ่งก็เอาเรื่องพอสมควร ซึ่งเป็นภาระให้กับคนที่ต้องซื้อเครื่องที่จะต้องจ่ายเพิ่มอีกเป็นเงินหลายบาท

ผมก็เลยลองคิดดูว่า  น่าจะมีทางออกที่ดีกว่านี้ ก็นึกไปถึงสายโทรศัพท์ สายลำโพง ซึ่งสายโทรศัพท์นั้นมี 6 เส้น ซึ่งเหมาะสมกับการใช้ แต่มีข้อเสียอยู่ว่าสายขาดในได้ง่าย ส่วนสายลำโพงก็มีแค่ 2 สีหากว่าต้องไปหาซื้อแบบหลายๆสีเพื่อให้ครบ 5 สีที่แตกต่างกัน แล้วนำเอามาใช้ก็ได้ครับ แต่ก็จะมีปัญหาเรื่องของความสามารถในการนำไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไปเพราะว่าเป็นสายที่มาจากคนละโรงงานกัน  ซึ่งค่าความต้านทานจะไม่เท่ากัน จึงย่อมส่งผลให้ค่าที่ได้วัดสายแต่ละเส้นแตกต่างกันไปด้วยนั้นเอง และการเดินสายก็จะยุ่งยากว่าเพราะว่า ต้องใช้ 3 คู่มัดรวมกัน การตีกิ๊ฟ การเก็บสายอาจจะทำได้ลำบาก ยุ่งยาก แล้วอย่างนั้นจะทำอย่างไรต่อไปหละ

สุดท้ายคิดไปคิดมา ได้นึกถึงสาย LAN ครับ ซึ่งมีองค์ประกอบครบทุกอย่าง คือสาย LAN เป็นสายที่สามารถหักงอได้มาก มียืดหยุ่นสูง ไม่ขาดใน และก็มีสีมากว่า ผมก็เลยตัดสินใจไปใช้สาย LAN เลยครับ ไปหาซื้อที่คอมพิวเตอร์ โดยร้านค้าให้สายมาเป็นสาย LAN ยี่ห้อ Sys Link ครับ

ซึ่งก่อนการติดตั้งใช้งานจริง ผมได้ทำการทดสอบหาค่าความคลาดต่างๆจากสาย LAN ให้ได้เสียก่อน ซึ่งผมได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้ครับ 

1.-สำหรับความชื้นที่วัดได้จากสาย LAN จะมีค่าความเคลื่อนต่ำมาก โดยใช้สายยาวประมาณ 25 เมตร ค่าความชื้นจะเพิ่มขึ้นเพียง 2-3 Rh% เท่านั้น

2.-สำหรับอุณหภูมิที่วัดได้จากสาย LAN นั้น แกว่งตัวมากเอาเรื่องเลย แต่ด้วยจำเป็นที่ต้องเร่งติดตั้ง ไม่มีเวลามากพอที่จะมานั่งหาสายอื่นๆทดแทนแล้ว ด้วยเป็นวัดหยุดและเป็นวันสุดท้ายอีก  จึงทำให้ผมตัดสินใจใช้สาย LAN ตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ว่าผมได้ลดทอนความยาวสายที่จะเดินให้สั้นลงเหลือเพียงเท่าที่จำเป็นจริง คือ 11.20 เมตรและทำการ Clibrate ค่าให้ถูกต้อง แล้วจึงทำการสอบเทียบอุณหภูมิที่วัดได้จาก VM-80 HT ที่ต่อขยายความยาว เปรียบเทียบกับตัวอื่นๆที่ไม่ต่อขยายความยาวสาย Sensor ค่าที่ได้เป็นที่น่าพอใจมาก ถึงแม้ว่าสายที่ต่อขยายจะสั้นไปบ้าง แต่ก็ไม่แสดงถึงค่าผิดพลาดหรือเป็นข้อด้อยแต่ย่างไร (โดยส่วนตัวผมเน้นเรื่องความถูกต้องแม่นยำที่ได้จาก Hygrosatat มากกว่าสาย Sensor ที่ยาว สายยิ่งยาวโอกาสเพี้ยนยิ่งสูงครับ เอาเท่าที่จำเป็นต้องใช้ก็เพียงพอแล้ว)

ข้อดีของการใช้สาย LAN ในการต่อขยายความยาวก็คือเราจะมีสายไฟที่ไม่ได้ใช้เก็บไว้เป็นสายสำรองอีกด้วย เพราะว่าโดยปกติแล้วสาย LAN จะประกอบไปด้วย สายภายใน 8 เส้น แต่สาย Sensor จะใช้เพียง 5 เส้น ดังนั้นจึงยังมีสายไฟที่จะนำมาใช้เป็นสายสำรองได้อีก 3 เส้น ซึ่งครอบคลุมทั้งสายความชื้น 3 เส้น หรือ สายอุณหภูมิซึ่งใช้แค่ 2 เส้น ซึ่งทำให้หมดกังวลเรื่องการเดินสายใหม่ หากว่าสายเกิดความเสียหายขึ้นมา ก็นำสายสำรองทั้ง 3 เส้นมาต่อเชื่อมใหม่ ไม่จำเป็นต้องเดินสายใหม่ทั้งหมด ซึ่งสายสำรองนี้มีครอบคุม-เพียงพอ  (อย่างมากสุด 3 เส้น , อย่างน้อย 2 เส้น แต่มีสำรองไว้ถึง 3 เส้นครบ)

ซึ่งโดยภาพรวมๆ ผมว่าสาย LAN ก็พอใช้ได้นะครับ และเมื่อติดตั้ง VM-80 HT เสร็จแล้ว ก็เริ่มการใช้งานจริง ซึ่ง VM-80 HT สามารถควบคุมความชื้น-อุณหภุมิได้ถูกต้องตามที่ตั้งความหวังไว้ทุกประการ
คือสามารถควบคุมความชื้นและอุณหภุมิได้ในเวลาเดียวกันเลย ไม่ว่าจะเป็นความชื้นลดต่ำลง VM-80 HT จะเปิด Blade เพิ่มความชื้นให้จนถึงระดับที่ต้องการ หรือหากว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น VM-80 HT ก็จะสั่งเปิด Blade Humidifier ชุดเดียวกันนี้แหละ เพื่อลดอุณหภูมิลงมา ทำให้สามารถใช้งาน Blade Humidiifer ได้แบบ 2 in 1 เลย การเดินสายไฟก็ทำได้สะดวก ง่ายกว่าที่หลายคนคิดเอาไว้
 
วันหลังผมจะมาแนะนำ การ Set Parameter ต่างๆ เพื่อให้ VM-80 HT สามารถควบคุม Blade Humidifier ในการเพิ่มความชื้นและลดอุณหภูมิ โดยใช้ Blade Humidifier เพียงแค่ชุดเดียวเท่านั้น พร้อมทั้งเทคนิคที่ช่วยให้ไม่ต้องเดินสายไฟยุ่งยาก ไม่ซับซ้อนแต่สามารถทำให้ Blade สามารถควบคุมได้ทั้งอุณหภูมิและความชื้นได้ในเวลาเดียวกันเลย สะดวกมากครับ
 
ตอนนี้ผมขอสะสางงานที่คั่งค้างมากมายให้ลดลงเสียก่อน และเริ่มมีเวลาว่าง ผมจะทำ Clip สาธิตการใช้งาน ต่างๆอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่าตัวแปร สาธิตการรับ Load จาก Blade พร้อมกันทีเดียว 3 ตัว การสาธิตการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิในเวลาเดียวกันให้ดูครับ
 
                                                                                  Vuthmail-Thailand
                                                                                           08.12.53

แกะรอย VM80 เครื่องควบคุมอุณหภูมิความชื้นในตัวเดียวกัน

ผมใช้เวลาในการหา Hygrostat ที่มีประสิทธิสูง เพื่อนำมาใช้ในการควบคุมความชื้นในบ้านนกของผมเอง
ซึ่งโดยส่วนตัว ผมมองว่าในเมืองไทยไม่ค่อยได้ใช้เกี่ยวกับอุปกรณ์ตัวนี้ ใช้กันเฉพาะกลุ่ม ใช้กันไม่มาก เพราะว่าประเทศไทยบ้านเราไม่หนาวเหมือนกับต่างประเทศ อุปกรณ์เหล่านี้จึงหาได้ค่อนข้างยาก-ลำบากจริงๆครับ อีกอย่างราคาอุปกรณ์พวกนี้ราคาสูงมาก

ผมเองก็มีความรู้เรื่องไฟฟ้าน้อย จึงต้องใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลอยู่นาน กว่าที่จะสามารถเข้าใจเรื่องอุปกรณ์เหล่านี้ได้พอประมาณ นอกจากนี้ผมเองก็ยังต้องศึกษาต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้อุปกรณ์เหล่านี้ มีความเหมาะสมกับบ้านนกที่ใช้ Timer ในการควบคุมการให้ความชื้นอยู่ก่อนแล้ว และให้เหมาะสมกับบ้านนกใหม่ที่กำลังจะติดตั้งอุปกรณ์นี้อยู่

สิ่งแรกที่ผมสังเกตุเห็นอะไรหลายๆอย่าง ซึ่งจำเป็นจะต้องเพิ่มเติม เช่นค่ากล่อง ค่าMagnatic ค่าAdaptor สำหรับจ่ายไฟให้บอร์ด และค่าใช้จ่ายแฝง ตามที่ได้เขียนไว้ในบทความ แกะรอย Hygrostat ภาคแรก ซึ่งผมเองได้เขียนไว้ก่อนหน้านี้  ก็อย่างที่บอกครับ ผมมีความรู้เรื่องไฟฟ้าน้อยและคาดว่ายังมีคนอยู่อีกกลุ่มหนึ่งที่มีความรู้เรื่องไฟฟ้าน้อยเหมือนกับตัวผมเอง

ดังนั้นตัว Hygrostat รุ่นที่ผมมองหาอยู่นี้จะต้องง่ายต่อการติดตั้ง ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มในส่วนค่าใช้จ่ายแฝงต่างๆ เอาแบบที่เรียกว่ายก Timer ชุดเก่าออกทิ้งไป และต่อไฟเข้าในช่องของ Input และต่อสายไฟออกที่สั่งเปิดปิดเครื่อง Blade Humidifier ที่ช่อง Output ของ Hygrostat เพียงเท่านี้เองให้ง่ายๆอย่างนี้มีหรือปล่าว ผมก็เพียรหาอยู่นานครับ ปรากฏว่ามีครับ



เครื่องรุ่นนี้เป็นรุ่นใหญ่ครับ สามารถให้ควบคุมได้ทั้ง ความชื้นและอุณหภูมิ โดยอยู่ในเครื่องตัวเดียวกัน รุ่นนี้ผมเจาะลงไปที่รายละเอียด ทำให้ได้ทราบว่ารุ่นนี้ทำได้ตามที่ผมต้องการ ยก Time เก่าทิ้งไป ยก Hygrostat ใหม่เข้าไปแทนที่   แต่ว่ารุ่นที่มี Relay 3A เท่านั้นผมได้ขอให้ทางโรงงานที่ผลิตติด Relay ขนาด 10A เพิ่มเติม แต่ทางโรงงานบอกว่า Relay 10 ใหญ่เกินไปที่จะลง Case ได้ จึงได้สรุปว่าสามารถเป็นจาก Relay 3A เป็นได้แค่ 5A ซึ่งก็ยังดีกว่าเดิมมากพอสมควร  
และรุ่นนี้ Board มีค่าความเพี้ยนในการวัดต่ำที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นเลยคืออยู่ + 0.3%  ซึ่งปรกติจะอยู่ที่ + 5% ซึ่งค่าความเพี้ยนระดับ + 0.3% ผลการวัดจะมีความเที่ยงตรงสูงมากๆ และอยู่ในเกณฑ์สูงกว่ามาตราฐานมาก ( แม่นยำกว่า Board ปกติถึง 94% )

Sensor ที่ใช้วัดจะวัดได้เที่ยงตรงกว่า Sensor ปกติ ค่าความเพื้ยนต่ำกว่า Sensor ปกติอยู่ 2% ซึ่งมีความแม่นยำสูงเอาการ (ปกติค่าความเพี้ยนของหัว Sensore ทั่วไปจะอยู่ประมาณ 5% แต่รุ่นนี้อยู่ 3% หรือเท่ากับมีความแม่นยำมากกว่าปกติ 40% เลยนะครับ) สายยาว 3 เมตร ขยายความยาวได้ด้วย สายไฟธรรมดา ซึ่งสะดวกมาก

และที่เด่นสุดๆๆ สำหรับรุ่นใหญ่ตัวนี้คือ มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลระหว่าง Computer ได้ด้วย RS232 หรือ RS485 หรือสามารถทำโปรแกรม PLC (Programmable Logic Controller) เองได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีของเครื่องรุ่นใหญ่ตัวนี้ที่พิเศษมากๆๆ

ข่าวล่าสุดครับ ผมได้ให้ทางบริษัทช่วยออกแบบการต่อเชื่อม เพื่อเพิ่มความสามารถของเครื่องให้สามารถควบคุมทั้งความชื้นและอุณหภูมิในเวลาเดียวกัน โดยไม่แบ่งว่าจะต้องกังวลว่าจะควบคุมด้วยความชื้นเป็นหลัก หรือใช้อุณหภูมิเป็นหลัก

จึงทำให้เครื่องรุ่นใหญ่นี้จะสามารถควบคุมความชื้นและอุณหภูมิไปพร้อมๆๆกันเลย ทั้ง 2 กรณีซึ่งพิเศษมากครับ ซึ่งหากว่าสรุปเงื่อนไขการทำงานจะเป็น 3 ช่วงดังต่อไปนี้คือ

กรณี 1.- หากความชื้นต่ำกว่า 75 Rh% ให้ Hygrostat สั่งเครื่องเปิดเครื่อง Humidifier และหากว่าความชื้นเริ่มสูงขึ้นจนถึง 90% ให้ Hygrostat สั่งปิดเครื่อง Humidifier เอง ( และสามารถกำหนดค่าเปิด-ปิดเครื่องได้เองตามความต้องการ )



กรณี 2.-อุณหภูมิหากว่าสูงกว่า 30 องศาให้ Hygrostat สั่งเครื่องเปิดเครื่อง Humidifier และหากว่าอุณหภูมิลงจนถึง 28 องศาก็จะสั่งให้ Hygrostat ปิดเครื่อง Humidifier อัตโนมัติ (และสามารถกำหนดค่าเปิด-ปิดเครื่องได้เองตามความต้องการ)



กรณี 3.-ที่วิเศษสุดๆก็คือ เมื่ออุณหภูมิลดลงมาอยู่ที่ 28c และเริ่มสูงขึ้น ความชื้นเริ่มตกลงมาอยู่ระดับต่ำ ระบบก็จะสั่งให้ทำการเปิด Humidifer เอง เพื่อการรักษาระดับความชื้นให้อยู่ในระดับที่นกชื่นชอบเอาไว้ และเป็นการช่วยลดอุณหภูมิไม่ให้แกว่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป  จึงทำให้อุณหภูมิค่อยๆปรับตัวสูงขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยๆเป็นค่อยๆไป  จึงเป็นรักษาระดับอุณหภูมิ-ความชื้นที่เหมาะสมกับนก ให้สามารถอยู่ใน Nesting Room ได้นานขึ้นกว่าเดิม (ซึ่งเป็นข้อดีของเครื่องที่ได้เปรียบกว่าปกติ) เมื่อเปรียบเทียบกับการควบคุมโดยความชื้นหรืออุณหภูมิอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว  พร้อมทั้งเป็นการเพิ่มความชื้นและลดอุณหภูมิในบ้านนกในเวลาเดียวกัน  (สามารถกำหนดค่าเปิด-ปิดเครื่องได้เองตามความต้องการ)


                                                                                          Enjoy it
                                                                                 Vuthmail-Thailand
                                                                                         29.10.53

ความชื้นยิ่งละเอียดยิ่งดี

ก็อย่างที่เราทราบๆกันอยู่นะครับว่า นกแอ่นกินรังนั้นจะชอบความชื้นที่ค่อนข้างสูง ช่วงระหว่าง 80 Rh%-85Rh% แต่ว่าเรื่องของอุณหภูมิก็สำคัญไม่หยอก แต่อาจจะเป็นรองๆลงมาบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีความสำคัญเลยนะครับ

หากว่าเป็นหน้าร้อน ที่ร้อนมากๆๆอย่างหน้าร้อน ปี 53 ที่ผ่านมาเป็นเครื่องพิสูจน์แบบเห็นๆกันอยู่ หากว่าบ้านนกที่อุณหภูมิสูงเกิน 32-34 องศาอย่างนี้ เราก็ต้องมาให้ความสำคัญกับเรื่องอุณหภูมิ แทนที่จะเป็นเรื่องความชื้น หรืออย่างหน้าหนาว 2 ปีก่อนจังหวัดที่ใกล้กรุงเทพจะเย็นเอาเรื่อง เราก็ต้องเน้นการปรับเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น เพื่อทำให้นกอยู่สบายๆ ไม่หนาว ส่วนหน้าฝนเรืองอุณหภูมิแทบไม่ต้องเป็นห่วงเลย ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลอุณหภูมิจะเป็นที่เด่น หรือต้องให้ความสำคัญเป็นคราวๆไปตามปัจจัยที่เข้ามากระทบ แต่เรื่องของความชื้นจะเป็นเรื่องต้องควบคุมอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าบางครั้งเรื่องอุณหภูมิจะเด่นเกินหน้าเกินตาขึ้นมาเป็นครั้งเป็นคราวก็จริง แต่อย่างไรก็แล้ว ความชื้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถละเลยได้ครับ

การควบคุมความชื้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนครับ แกว่งตัวขึ้นลงได้ง่ายอีกทั้งแกว่งขึ้นละได้ครั้งละมากๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ขนาดช่องขนาดรูระบายอากาศ ความแรงของลมที่พัดเข้ามาก ความชื้นในอากาศของแต่ละช่วงเวลา ความชื้นในอากาศในแต่ละฤดูกาลก็แตกต่างกัน ความร้อนแรงของแสงที่ส่องเข้าไปในบ้านนกก็แตกต่าง  การออกแบบบ้านนกให้มีหรือไม่มีบ่อน้ำภายในบ้านนก ก็มีผลกับความชื้นภายในบ้านนกเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลล้วนเป็นปัจจัยที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าย่อมกระทบต่อความชื้นสัมพัทธ์ในบ้านนกของท่าน  ดังนั้นเรื่องต่างๆเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อความชื้นในแต่ละจุดของบ้าน ซึ่งมีผลทำให้ความชื้นในแต่ละจุดก็จะไม่เท่ากัน แตกต่างกันออกไป บางจุดความชื้นสัมพัทธ์อาจจะสูง บางจุดความชื้นอาจจะต่ำ ความชื้นในแต่ละชั้นก็จะแตกต่างกัน อีกทั้งเรื่องของพื้นที้ใช้สอยในบ้านนกก็มีผลเหมือนกัน
 
เรื่องพื้นที่ของอาคารบ้านนกแตกต่างใหญ่เล็กไม่เท่ากัน ซึ่งเราต้องยอมรับกันว่าบ้านนกพื้นที่เล็ก การควบคุมความชื้นย่อมทำได้ง่ายกว่าบ้านนกพื้นที่ใหญ่ ความยุ่งยาก ซับซ้อนในการควบคุมความชื้นก็จะแตกต่างกันไป จำนวนชั้นก็มีผลต่อความชื้น ขนาดของช่องเข้าออกใหญ่เล็กไม่เท่ากัน จำนวนช่องมากน้อยไม่เหมือนกัน มี 1 ช่องบ้าง 2 ช่องบ้าง อีกทั้งตำแหน่งและระยะห่างของช่องนกเข้าออกกับ Nesting Room ก็จะส่งผลต่อความชื้นของอาคารเช่นกัน โดยส่วนมากชั้นบนสุดของบ้านนกจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เปลี่ยนแปลงได้มากที่สุดและรวดเร็วกว่าชั้นล่างๆ
 
ดังนั้นการควบคุมความชื้น โดยใช้จุดที่วัดเพียง 1-2 จุด เพื่อควบคุมความชื้นพื้นที่ทั้ง 3 ชั้น หรือ ควบคุมความชื้นบ้านนกทั้งหลังนั้น ผมว่าเป็นสุ่มเสี่ยงค่อนข้างมาก แต่ว่าท่านสามารถใช้การวัดความชื้น 1-2 จุดได้เช่นกัน แต่ต้องมีเงื่อนไขว่า--ท่านจะต้องแม่นเรื่องความชื้นมากๆๆ หากว่าท่านวางตำแหน่ง Sensor ไว้ผิดที่ผิดทางโอกาสพลาดก็มีมากเช่นกัน 
 
ในทางกลับหากว่าเรากระจายจุดวัดและจุดควบคุมให้มากจุด แยกเป็นหน่วยย่อยๆ หลายๆจุด จะทำให้สามารถบริหารความชื้นได้แม่นยำ ทำได้ละเอียดกว่า ความผิดพลาดน้อยลง ประสิทธิภาพการบริหารความชื้นต่อพื้นที่จะทำได้แม่นยำ การแยกการควบคุมความชื้นเป็นหน่วยย่อยหลายๆจุดนั้นจะทำให้การควบคุมความชื้นในแต่ละพื้นที่ได้ประสิทธิภาพสูงว่าอย่างชัดเจน การบริหารความชื้นให้เข้าสู่ภาวะ Idealy จะทำได้ง่ายกว่า รวดเร็วกว่า; แม่นยำกว่า ในช่วงเวลาที่ถูกต้องทันกาลมากกว่าการใช้จุดวัดและควบคุมเพียง 1-2 จุด โดยที่เราอาจจะไม่ต้องเก่งหรือแม่นเรื่องตำแหน่งที่วางหัว Sensor อย่างเซียนที่เค้าเก่งๆครับ
 
                                                                              Vuthmail-Thailand
                                                                                     26.10.53